1. ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้ เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย
ในปี ค.ศ. 1983 ได้มีการนำ TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1986 มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain name System) เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่าย และใช้ ISP (Internet Service Provider) ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม
2. การเชื่อมต่อกับเครือข่าย
1. แบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ ( Hub ) ซึ่งเป็นจุดกลางในการติดต่อ เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะติดตั้งและ ดูแลรักษาระบบง่าย ราคาวัสดุอุปกรณ์ก็ไม่แพง ข้อดีคือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ข้อเสีย ถ้า Hub เสียจะใช้งานไม่ได้ทั้งระบบ ใช้สายสัญญาณติดตั้งมากกว่าแบบอื่น
2. แบบวงแหวน (Ring Topology)เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะแบบวงแหวน ข้อดี คือ สามารถเชื่อมได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบอื่นๆ ข้อเสียคือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีปัญหา จะทำให้ระบบหยุดการทำงาน
3. แบบบัส (Bus Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่อเชื่อมอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แล้วโยงสายไปยังเครื่องที่ 2 3 … ตามลำดับในลักษณะการต่อแบบอนุกรม การเชื่อมแบบนี้ทำได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีปัญหาที่สายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
4. แบบผสมผสาน (Hybrid) เป็นการเชื่อมต่อที่เอาแบบดาว แบบวงแหวนและแบบบัส มาผสมผสานกัน เพื่อลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดเด่นให้กับระบบเครือข่าย
3. การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์บ้าน
พัฒนาของการไมโครโปรเซสเซอร์เป็นต้นเหตุของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ปี พ.ศ. 2539 นี้เป็นปีที่อายุการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ครบรอบ 25 ปีแล้ว การพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ครบรอบ 25 ปีแล้ว การพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ทำให้มีการสร้างพีซีและเป็นต้นเหตุของการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย และเมื่ออินเทลพัฒนาซีพียูตระกูล 86 ที่เป็นรายฐานของพีซีในตระกูลของอินเทลเป็นเส้นทางที่ยาวนาน และยังยาวไกลที่จะทำให้มีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายขณะที่พีซีแพร่หลายและมีขีดความสามารถสูงขึ้น พัฒนาการทางด้านสื่อสารก็เริ่มขึ้น พัฒนาการทางด้านสื่อสารก็เริ่มขึ้น มีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร จนทำให้คอมพิวเตอร์จำนวนมากเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน รับส่งข้อมูลถึงกัน การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เครื่องพีซีทุกวันนี้จะไม่โดดเดี่ยวแบบสแตนอโลนพีซี แต่จะใช้งานร่วมกันมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่สนองตอบความต้องการของผู้ใช้พีซีในปัจจุบันจึงต้องมีระบบเสียง ระบบภาพ และยังมีระบบเก็บข้อมูลจำนวนมาก ทั้งที่เป็นฮาร์ดดิสค์และซีดีตลอดจนการเชื่อมต่อแบบ LAN และโมเด็มมัลติมีเดียพีซีจึงเป็นพีซีเป็นพื้นฐานที่ผู้ซื้อพีซีปัจจุบันเลือกหา และเป็นมาตรฐานของพีซีต่อไปเมื่อพีซีได้พัฒนามาถึงจุดนี้ ระบบสื่อสารพัฒนาตามมา ระบบโทรศัพท์ก็พัฒนามาเป็นระบบโทรศัพท์ดิจิตอล การเชื่อมโยงและรวมเทคโนโลยีของการใช้งานคอมพิวเตอร์พีซี มัลติมีเดีย ระบบสื่อสาร โทรศัพท์จึงเป็นเป้าหมายที่รวมกันเข้าเป็นระบบเดียวและมีแนวโน้มที่เป็นจริง โทรศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญ
CTI เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง
CTI เป็นคำย่อมาจาก Computer Telephony Integration คือการรวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์เข้าด้วยกัน ลองจินตนาการดูว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่ออยู่หลายล้านเครื่อง เครือข่ายโทรศัพท์มีพื้นที่ใหญ่กว่าอินเทอร์เน็ตมากมายนัก ปัจจุบันมีโทรศัพท์ต่อเชื่อมเข้าบ้านประมาณมากกว่า 500 ล้านเครื่อง เครือข่ายโทรศัพท์จึงเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้กันมากมาย และมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสื่อสาร
แนวคิดของ CTI ก็คือ ต้องการทำให้เครื่องรับปลายทางที่ทุกบ้านใช้กลายเป็นพีซีและพีซีทุกเครื่องก็จะกลายเป็นโทรศัพท์ โดยพีซีจะกลายเป็น call center หรือสถานีโทรศัพท์ มีรหัสหมายเลขโทรศัพท์ที่เรียกว่า call id การติดต่อสื่อสารระหว่างกันจึงใช้รหัสเช่นเดียวกับที่เราใช้ การใช้พีซีมีข้อดีเพราะพีซีมีซีพียูที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาพีซีจึงต้องเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานที่เรียกว่า หน่วยตอบสนองเสียง หรือ VRU Voice Response Unit การใช้งานพีซีเป็นโทรศัพท์ย่อมง่ายกว่าการใช้โทรศัพท์ เพราะพีซีมีระบบอัจฉริยะภายในตัวที่ทำให้การทำงานแบบอัตโนมัติ การรับส่งข้อความเสียงการประมวลผลเสียง และในอนาคตก็คงรวมการรับส่งภาพ กลายเป็นวีดีโอโฟน และวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่พูดโต้ตอบเห็นหน้าตากันด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีแนวโน้มที่เป็นไปได้และอีกไม่นานนักคงได้พบเห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเป็นไปในลักษณะที่เชื่อมโยงกัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคงเห็นได้ชัดเราใช้โมเด็มความเร็ว 28,800 บิตต่อวินาทีเรียกหาข้อมูลมีเครือข่าย WWW-World Wide Web การโอนย้ายข้อมูลแบบมัลติมีเดียทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงข้อมูลได้ทั้งภาพเสียงและ วีดีโอ สิ่งเหล่านี้เองเป็นเครื่องยืนยันว่าการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น